ประโยคใช้บ่อยตอนสัมภาษณ์งาน

ปกติการสัมภาษณ์งานเป็นเรื่องที่สร้างความหนักใจให้ผู้ที่กำลังหางานหลาย ๆ คน โดยเฉพาะน้องๆ ที่พึ่งเรียนจบใหม่และยังไม่มีประสบการณ์ในการสัมภาษณ์งาน ยิ่งต้องสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษก็ยิ่งเพิ่มความกดดันเข้าไปอีก แต่ในยุคปัจจุบันโอกาสที่คุณจะต้องถูกสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษคงไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณมีความสนใจอยากร่วมงานกับบริษัทขนาดใหญ่ หรือ บริษัทต่างชาติ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ เราควรฝึกซ้อมสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ ลองฝึกตอบคำถามต่างๆ เรียนรู้คำศัพท์และประโยคที่จะช่วยให้คำตอบของคุณดู professional ขึ้น

ลองมาดูตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษที่ใช้บ่อยๆ กันเลย

When you don’t understand the question

ประโยคสำหรับขอให้ผู้สัมภาษณ์ช่วยทวนคำถาม หรือ อธิบายคำถามให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

หลายๆ ครั้งเวลาเราไปสัมภาษณ์งานด้วยภาษาอังกฤษ เราอาจจะตื่นเต้น หรือ ประหม่าอาจจะทำให้เราไม่ได้โฟกัสกับคำถาม หรือ อาจจะฟังไม่ทัน ผู้สัมภาษณ์งานสามารถขอให้ทวนคำถามอีกรอบ หรือ บางครั้งฟังแล้วอาจจะไม่เข้าใจคำถามก็สามารถขอให้ผู้สัมภาษณ์ช่วยชี้แจงคำถามให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยสามารถใช้ประโยคเหล่านี้ได้เลย

ตัวอย่าง

Interviewer: Describe a difficult experience at work and how you handled it.

(อธิบายถึงประสบการณ์ที่ยากลำบากในการทำงานและวิธีที่คุณจัดการกับมัน)

Interviewee: I’m not clear about something, Could I ask a question?

(ฉันไม่แน่ใจว่าเข้าใจคำถาม ขอถามคำถามคุณได้ไหมคะ)

Interviewer: Sure, go ahead.

(ได้เลย)

Interviewee: Do you mean you want to know about major challenges I have handled, right?

(คุณหมายความว่าคุณต้องการทราบเกี่ยวกับความท้าทายในงานที่ฉันเคยจัดการใช่ไหมคะ?)

Interviewer: That’s right.

(ถูกต้อง)

Personal preferences

ประโยคที่ใช้เพื่อบอกความชอบ หรือ ความถนัดของผู้ถูกสัมภาษณ์

ตัวอย่าง

Interviewer: Do you prefer to work alone or on a team?

(คุณชอบทำงานคนเดียว หรือ ทำงานเป็นทีม)

Interviewee: I can’t really say which I prefer. It depends on the nature of the task and the dynamics of the team. Sometimes working alone allows for more focused and uninterrupted progress, while other times collaborating with a team brings valuable perspectives and shared responsibilities that can lead to better results.

(ฉันไม่สามารถบอกได้จริงๆ ว่าฉันชอบทำงานคนเดียว หรือ ทำงานเป็นทีมมากกว่า มันขึ้นอยู่กับลักษณะของเนื้องานและทีม บางครั้งการทำงานคนเดียวทำให้ฉันสามารถมีสมาธิและโฟกัสได้ดี ทำให้สามารถทำงานได้ดี ขณะที่บางครั้งการทำงานร่วมกับทีมก็ช่วยให้เราเห็นมุมมองที่สำคัญอื่นๆ และการแบ่งหน้าที่เพื่อทำงานร่วมกันก็สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีได้เช่นกัน)

Stating your opinion

ประโยคแสดงความคิดเห็นส่วนตัว

ตัวอย่าง

Interviewer: How is creativity important in business? 

(ความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญต่อธุรกิจอย่างไร?)

Interviewee: It seems to me that creativity plays an important role in business especially in a local business since a creative mindset can be what helps business owners overcome challenges and succeed in this day and age. By thinking outside of the box, you can discover innovative solutions to the obstacles you face and prosper in the business world, regardless of the situation.

(ในความคิดของฉันดูเหมือนว่าความคิดสร้างสรรค์จะมีบทบาทสำคัญในธุรกิจ โดยเฉพาะในธุรกิจท้องถิ่น เนื่องจากแนวคิดที่สร้างสรรค์สามารถช่วยเจ้าของธุรกิจประสบความสำเร็จในยุคปัจจุบัน ด้วยการคิดนอกกรอบ คุณสามารถค้นพบวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ ที่คุณต้องเผชิญไม่ว่าสถานการณ์ไหนในโลกธุรกิจด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ)

Agreeing

ประโยคเพื่อต้องการแสดงความเห็นด้วย

ตัวอย่าง

Interviewer: Do you agree that Chat GPT transformed and changed writer productivity?

(คุณเห็นด้วยไหมว่า Chat GPT ได้เปลี่ยนแปลงและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของนักเขียน?)

Interviewee: Undoubtedly it is true to say that Chat GPT significantly improves productivity in professional writing tasks, increasing both speed and quality of work

(ไม่ต้องสงสัยเลยที่จะกล่าวว่า Chat GPT ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเขียนระดับมืออาชีพอย่างมาก ทั้งในด้านความเร็วและคุณภาพของงาน)

Disagreeing

ประโยคเพื่อต้องการแสดงความไม่เห็นด้วย

ตัวอย่าง

Interviewer: I believe that hard working is better than smart working. What do you think?

(ฉันเชื่อว่าการทำงานหนักดีกว่าการทำงานอย่างชาญฉลาด คุณคิดว่าไง?)

Interviewee: Perhaps. But don’t you think that the debate between working hard and working smart often depends on the context and goals. In many cases, a combination of both approaches is ideal. Working smart can enhance the efficiency of hard work, while hard work can provide the dedication needed to fully implement smart strategies. Balancing the two can often yield the best results.

(ก็อาจจะจริง แต่คุณไม่คิดว่าการเลือกระหว่างการทำงานหนักกับการทำงานอย่างชาญฉลาดแบบไหนดีกว่ากันมักจะขึ้นอยู่กับบริบทและเป้าหมาย ในหลายกรณี การนำทั้งสองวิธีมาใช้ด้วยกันเป็นแนวทางที่ดีที่สุด การทำงานอย่างชาญฉลาดสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานหนักได้ ขณะที่การทำงานหนักสามารถให้ความทุ่มเทที่จำเป็นในการนำกลยุทธ์อย่างชาญฉลาดไปใช้ได้อย่างเต็มที่ การหาสมดุลระหว่างทั้งสองวิธีมักจะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด)

Loading

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.