ภาษาญี่ปุ่นแบบไม่เต็มปากเต็มคำตอนที่4 “อิ่มไป” ไม่เอาแล้วครับ

Submitted by hikuma

วันนี้นั่งพิมพ์ไปด้วยฟังเพลง”ศรัทธา”ของหินเหล็กไฟ ไปด้วย

ชื่อเพลงไม่เกี่ยวอะไรกับภาษาญี่ปุ่นที่กำลังจะกล่าวถึง  แต่มันเกี่ยวกับ

สภาพจิตใจของคนที่อยู่ต่างประเทศและจำเป็นต้องหาที่พึ่งทางใจ 

ยามที่อะไร อะไร หลายอย่างไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ 

ก็เลยถือโอกาสมอบให้ผู้ที่ติดตามอ่านคอลัมภ์นี้ด้วย

……..

ก็แวะเข้าเรื่องเลยแล้วกันนะครับ 

เผอิญเมื่อวานซืนได้มีโอกาสต้อนรับมิตรสหายจากเมืองไทย 

และเปิดบ้านใหเพื่อนได้พัก

บ้านที่ผมอยู่เป็นบ้านสองครอบครัว 

คือ ครอบครัวผม และครอบครัวพ่อแม่ 

แม่แฟนเป็นคนอัธยาศัยดี เพื่อนมาทีไร ก็จะทำอาหารให้ทาน

แม้ว่าจะบอกแกไปหลายครั้งแล้วว่าไม่อยากให้แม่ลำบากแกก็ชอบเตรียม

วันนี้ก็เช่นกัน เมื่อพาเพื่อนมาที่บ้าน 

แม่ก็คะยั้นคะยอให้ เพื่อนคนไทยที่มาเยี่ยม ทานของที่แม่เตรียมไว้บนโต๊ะ

แต่เนื่องจากผมเพิ่งพาเพื่อนไปกินปูแบบไม่อั้นมาแล้ว  จึงไม่มีที่ว่างในท้องเหลืออยู่

แม่เองก็พูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้  ส่วนคนไทยที่มาก็พูดญี่ปุ่นไม่ได้ 

ผมก็นั่งมองสองคนที่ใช้คนละภาษาคุยกัน

คนหนึ่งก็พยายามดันให้อีกคนหนึ่งกินของที่ส่งมา

อีกคนหนึ่งก็พยามชี้ไปที่ท้องและพยายามบอกว่า 

ทานไม่ไหวแล้ว

ผมก็เลยบอกเพื่อนคนนั้นไปว่า 

ให้เอามือตบท้องสองครั้ง แล้วพูดว่า

“อิ่มไป”  “อิ่มไป”

…..

คุณแม่คนญี่ปุ่น : ยื่นอาหารมาให้และทำท่าคะยั้นคะยอให้กิน

เพื่อนคนไทย  : เอามือตบที่ท้องสองครั้ง  “อิ่มไป”  ” อิ่มไป”

คุณแม่คนญี่ปุ่น : ผงกหัว แสดงความเข้าใจ  “อิ่มไปเนะ”

….

สรุปก็คือ หากท่านทั้งหลายมาเที่ยวประเทศญี่ปุ่นแล้ว มีคนคะยั้นคะยอให้กิน

แต่เราอิ่มมากแล้ว และกินไม่ไหว แล้ว  ก็ให้ พูดคำว่า อิ่มไป   คนญี่ปุ่นก็จะเข้าใจ

เพราะคำว่าอิ่มไปในภาษาไทย จะคล้ายกับคำว่า “อิ่ม”ในภาษาญี่ปุ่น ที่พูดว่า “อิบไป” 

แม้ว่าเสียงจะไม่ตรงกันมากนัก  แต่ก็สามารถใช้ในยามฉุกเฉิน

“” ตอนพูดคำว่าอิ่มไป”ก็ต้องตบท้องเบาๆ เพื่อเป็นการช่วยทำให้เสียง “ม” แปลง เป็นเสียง “บ”ได้ง่ายขึ้น “

เวลาชวนเพื่อคนญี่ปุ่นมาทานข้าวและเราอยากรู้ว่า
เขาอิ่มไม๊ เราก็ใช้คำนี้ในการถามได้เช่นกัน

วิธีการใช้

คนไทย : อิ่มไป ? (ตบท้องเบาๆ สองทีขณะพูด) คำแปล ” อิ่มไม๊คะ”
คนญี่ปุ่น : อิ่ปไป อิปไป อิ่มไป (อิ่มแล้วค่ะ)

วันนี้ก็ขอลาไปก่อนเพียงเท่านี้นะครับ

และถามท้ายด้วยคติพจน์นี้ 

“Many of live `s failure are people who did not realize 

how close they were to success when they gave up “

(Thomas A. Edison  (1847-1931)

人生で失敗した多くの人は、自分がどのぐらい成功に近づいているかがわからず、

あきらめてしまった人たちだ

 (คำแปล ภาษาญี่ปุ่น จากหนังสือเรียนภาษาอังกฤษของ NHK)

Loading